วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เกล็ดความรู้เรื่องฐานรากของอาคาร เบื้องต้น


วันนี้มีความรู้เรื่องฐานรากอาคารมาฝากครับ ค่อนข้างจะวิชาการนะครับ อิอิ

ฐานรากอาคารโดยทั่วไปมีหลายแบบนะครับ ตามนี้

  1. ฐานรากแบบตื้น หรือ Shallow Foundation มีลักษณะเป็นเหมือนตีนเป็น เป็นแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กมักวางอยู่ทีระดับความลึกต่ำจากผิวดินที่ระดับความลึกใกล้เคียงกับความกว้างของแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก ถัดจากฐานรากขึ้นมาก็เป็นเสาของพื้นชั้นที่ 1 นั่่นเองครับ เหมาะสมกับอาคารขนาดเล็ก หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่นบ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ไม่ใหญ่มาก (แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องพิจารณากำลังรับน้ำหนักของดินแต่ละที่ที่ก่อสร้างด้วยนะครับ เพราะว่ามันไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ในแถบที่ลาบลุ่มภาคกลาง เช่น กทม. สมุทรปราการ สมุุทรสาคร สมุทรสงครา นครปฐม เป็นต้น ซึ่งดินเดิมของพื้นที่เหล่านี้เป็นดินเหนียว ดินเลนตะกอนปากแม่น้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดการทรุดตัวที่มากเกินไป ทำให้อาคารเสียหายได้)
  2. ฐานรากเสาเข็ม หรือ Pile Foundation เป็นฐานรากอีกชนิดที่มีใช้กันทั่วไป สำหรับอาคารขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ หรือแม้แต่สะพาน และก็สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ชนิดของเสาเข็มก็มีหลายแบบด้วยกัน เช่น เสาเข็มตอก (Driven Pile) เสาเข็มเจาะ (Bored Pile หรือ Drilled Shaft) เสาเข็มแรงอัดสูง (Spun Pile) บางทีอาคารขนาดเล็กเช่นบ้านจัดสรรค์ก็มีการใช้เสาเข็มเช่นกันนะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุหลายอย่างเช่น เป็นอาคารที่อยู่ในพื้นที่ที่ดินเกิดการทรุดตัวได้มาก ก็ต้องป้องกันโดยการใช้เสาเข็มแทนฐานรากแบบตื้น หรือบางทีเป็นเหตุผลเชิงพาณิชย์ บ้านที่ตอกเสาเข็มอาจทำให้ดูดีกว่าซึ่งอาจขายได้ง่ายกว่าบ้านที่ไม่มีเสาเข็ม(ทั้งๆที่ไม่จำเป็นต้องมีเสาเข็มก็ได้) ก็มีนะครับ ^^
  3. ฐานรากแบบกล่องหรือ Caisson (อ่านประมาณว่า เคซอง เพราะว่าไม่ใช่ภาษาอังกฤษนะครับ) เป็นฐานรากอีกแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับรองรับอาคารที่รับน้ำหนักจำนวนมหาศาล เช่นฐานรากของเสาสะพานในลำน้ำที่มีความกว้างมาก หรือในทะเล ที่มีช่วงยาวระหว่างเสายาวหลายร้อยเมตร ทำให้น้ำหนักที่ลงแต่ละเสาจำนวนมหาศาล ลักษณะของฐานรากแบบกล่องก็คือ เป็นโครงสร้างอาคารที่มีความกลวงภายใน ถ้าเป็นการก่อสร้างในน้ำ ก็จะมีขั้นตอนการก่อสร้างทั้งบนบกและในน้ำ คือ มีการสร้างเบื้องต้นบนบกให้มีลักษณะเหมือนขันหรือถ้วย แล้วขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างเมื่อนำลงไปนน้ำก็จะสามารถลอยได้เหมือนขันลอยน้ำ แล้วก็นำเรือลากไปยังตำแหน่งที่จะก่อสร้างฐานราก ใช้ระบบ GPS เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนแล้วยึดไว้ให้เคลื่อนที่ได้ในแนวดิ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจนได้ขนาดและรูปร่างตามที่ออกแบบไว้ ในขั้นตอนนี้ฐานรากแบบกล่องจะมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้ค่อยๆจมลงไป และในตอนท้ายสุดก็จะจมลงสู่ชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอในการับน้ำหนักด้วยน้ำหนักของฐานรากกล่องเอง ในบางกรณีจะมีการขุดดินใต้ฐานรากล่องออกด้วยเพื่อช่วยในการจมให้ฐานรากกล่องอยู่ที่ระดับความลึกที่ต้องการแล้วค่อยก่อสร้างส่วนฐานปิดเอาไว้อีกที

เป็นอย่างไรบ้างครับอ่านแล้วมึนเลยใช่ป่ะครับ ถ้าเป็นนักเรียนวิศวกรโยธา หรือวิศวกรโยธา น่าจะอ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก นะ แล้วจะหามาฝากอีกนะครับ

ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ ^^

3 ความคิดเห็น: